top of page

สายพันธุ์ของผักเชียงดาที่มีคุณประโยชน์สูง

อัปเดตเมื่อ 13 พ.ย. 2562

ทำความรู้จักกับสายพันธุ์ของผักเชียงดาสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอาหารเสริม

สำหรับสายพันธุ์ที่เหมาะสมของผักเชียงดา ทางสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รวบรวมและศึกษาวิจัยเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ผักเชียงดาที่ให้ผลผลิตสูงเพื่อเป็นต้นพันธุ์สำหรับการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีปริมาณกรดจิมเนมิคและสารต้านอนุมูลอิสระสูงสำหรับใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งมีจำนวน 2 สายต้นที่มีศักยภาพสูง คือ สายต้นเบอร์ 4 และ เบอร์ 6


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่แตกต่างกันที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ สายต้นเบอร์ 4 มีลักษณะใบกลม หนา และยอดอวบสั้น ส่วนสายต้นเบอร์ 6 มีลักษณะใบยาวรี บาง และยอดยาวยอดยาว และมีปริมาณกรดจิมเนมิคในผักเชียงดาอบแห้งร้อยละ 1.51 – 1.53 ซึ่งปริมาณกรดจิมเนมิคที่มีผลต่อการลดน้ำตาลในเลือดควรมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.2 (gravimetric method)


คุณภาพทางเคมีของผักเชียงดาสายต้นเบอร์ 4 และเบอร์ 6

เบอร์ 4

คลอโรฟิลล์ เอ 0.61 mg/g

คลอโรฟิลล์ บี 0.45 mg/g

คลอโรฟิลล์ 1.06 mg/g

แคโรทีนอยด์ 61.37 mg/g

ฟีนอลิก 8.62 mg/g

กรดจิมเนมิค 1.51mg/g


เบอร์ 6

คลอโรฟิลล์ เอ 0.63 mg/g

คลอโรฟิลล์ บี 0.23 mg/g

คลอโรฟิลล์ 0.85 mg/g

แคโรทีนอยด์ 51.67 mg/g

ฟีนอลิก 6.38 mg/g

กรดจิมเนมิค 1.53 mg/g


อ้างอิงข้อมูลจาก หนังสือ ผักเชียงดา ราชินีผักล้านนา

ดู 14 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page