top of page
bg.jpg

เกี่ยวกับเรา

Narah_๑๙๐๙๒๐_0007
ด้านการวิจัยและพัฒนา

 

เรามีทีมนักวิจัย มีความมุ่งมั่นและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพทุกคนให้กลับมามีสุขภาพที่ดีอีกครั้ง เรามีการผลิตที่ได้มาตรฐานการส่งออก

U P LIFE

 

ผลิตภัณฑ์ของเราภายใต้ชื่อแบรนด์ “U P LIFE” ได้ร่วมกับโรงงานมาตรฐานระดับสากล อาทิ บริษัท แอดสโก ดรัคส์ จำกัด และ บริษัท นราห์ อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรสกัดจากธรรมชาติที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล

 

เราเชื่อว่า สุขภาพดีอย่างยั่งยืนเป็นไปได้จริงด้วยสมุนไพรธรรมชาติ จากการเพาะปลูกแบบ Organic 100% ในพื้นที่และอุณหภูมิที่เหมาะสมจนได้สมุนไพรคุณภาพที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ทำลายตับ ไต และอวัยวะต่างๆ ภายใน

Narah_๑๙๐๙๒๐_0005
“UP LIFE” ได้รับการรับรองจาก...

 

  • องค์การอาหารและยา

  • มาตรฐานอาหารฮาลาล

  • มาตรฐานการผลิต GMP

  • ใบรับรองสินค้าออแกนิค IFOM

  • ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

ขั้นตอนการคัดสรรวัตถุดิบ

 

1. คัดสรรวัตถุดิบชั้นยอดจากแปลงปลูกพืชสมุนไพร

2. ปลูกบนผืนดินที่ไม่ใช้สารเคมีเลยตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี

3. ผักเชียงดา - เราคัดเลือกเฉพาะยอดใบ 6 คู่แรกของแต่ละต้นเพื่อให้ได้คุณค่าอาหารที่สูงที่สุด

4. เก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่พืชกำลังสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในแต่ละวัน

Narah_๑๙๐๙๒๐_0018
ความหมายของตรารับรองต่างๆ
อย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

(Food and Drug Administration - FDA)

มีหน้าที่ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีคุณภาพปลอดภัย ผู้บริโภคมั่นใจ ผู้ประกอบการไทยก้าวไกลสู่สากล

GMP

GMP

(Good Manufacturing Practice)

คือ มาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ เป็นเกณฑ์ควบคุมการผลิต ตลอดจนกระบวนการควบคุมให้ปฏิบัติตามของกองบริหารคุณภาพผลิตภัณฑ์แห่งรัฐหรือชุมชนนั้นๆ เพื่อการวิจัย การผลิต การบริโภค และการประกอบการค้าที่ดีขึ้น

หลักการของ GMP ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ระบบการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene)

GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) และ ISO 9000 อีกด้วย

ISO

ISO 9000

ISO เป็นมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องมาตรฐาน เรียกว่า “Internatioanal Organization for Standardization” สำนักงานหลักตั้งอยู่ที่กรุงเจนนีวา ในประเทศสวิสเซอร์แลนส์ องค์กรที่มีตัวแทนจากประเทศต่างๆ เข้ามาร่วมรับผิดชอบเพื่อสร้างและจัดทำมาตรฐานที่มีความเป็นสากล

ISO 9000 เป็นชื่อเรียกของมาตรฐานดังกล่าว มีความหมายตามหลักใช้แทนชื่อเรียกของชุดมาตรฐานของ ISO 9000 ซึ่งภายในชุดดังกล่าวจะประกอบไปด้วยมาตรฐานหลักๆ 3 ประเภท ที่ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 ที่ผ่าน ดังนี้

 

1. ISO 9000:2000 คือ Quality management system ที่เกี่ยวข้องกับ “Fundamentals and vocabulary”

2. ISO 9001:2000 คือ Quality management system ที่เกี่ยวข้องกับ “Requirements”

3. ISO 9004:2000 คือ Quality management system ที่เกี่ยวข้องกับ  “Guidance for performance improvement”

 

สำหรับระบบการจัดการคุณภาพด้าน ISO 9001 จะเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานสากลเช่นกัน ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ความมั่นใจให้เชื่อมั่นได้ว่าทางผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการทั้งหลายทำการจัดตั้งระบบการจัดการต่างๆ ที่ได้มาตรฐานเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน โดยเป้าหมายก็เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การออกแบบ การพัฒนา และการบริการ ซึ่งเชื่อมโยงกับทุกประเภทการผลิตในทุกอุตสาหกรรม

ในใบรับรองของมาตรฐาน ISO 9001 จะเป็นหลักฐานที่ช่วยแสดงให้เราเห็นได้ถึงการจัดการระบบที่มีคุณภาพ สามารถนำเอาไปใช้กับองค์กรต่างๆ ให้สามารถผลิตชิ้นงานไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ใบรับรองมาตรฐานดังกล่าว ยังสามารถนำมาใช้เป็น countermeasure เพื่อช่วยแก้ปัญหา product liability ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน

Haccp

HACCP

(Hazard Analysis Critical Control Point)

คือ มาตรฐานสากลตามข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO) เพื่อเป็นการการันตีว่าอาหารมีความปลอดภัย เป็นมาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร โดยประเทศต่างๆ สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความมั่นใจในอุตสาหกรรมอาหารทั้งโดยผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งหลักการของระบบ HACCP ครอบคลุมถึงการป้องกันปัญหาจากอันตราย 3 สาเหตุ คืออันตรายทางชีวภาพ (อันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคหรือสารพิษ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส), อันตรายจากสารเคมี (สารเคมีที่ใช้ในการเลี้ยง เพาะปลูก ในกระบวนการผลิตวัตถุดิบ เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารปฏิชีวนะ สารเร่งการเจริญเติบโต, สารเคมีที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร เช่น สารกันบูด และสารเคมีที่ใช้ในโรงงาน เช่น สารเคมีทำความสะอาดเครื่องจักรอุปกรณ์ในโรงงาน จารบี น้ำมันหล่อลื่น) และอันตรายทางกายภาพ (สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น เศษแก้ว เศษกระจก โลหะ เศษไม้)

HALAL LOGO

HALAL

ตราฮาลาล คือ ตราที่ติดบนสลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นที่ฮาลาล (อนุมัติ) สำหรับมุสลิมใช้บริโภค โดยจะมีคำว่า "ฮาลาล" (อาหรับ: حلال‎) เป็นภาษาอาหรับประทับอยู่ ผู้ออกตราฮาลาลในประเทศไทยคือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

อาหารฮาลาล คือ อาหารที่ไม่มีสิ่งต้องห้ามเจือปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์นั้นจะต้องเป็นเนื้อฮาลาล และไม่เจือปนสิ่งฮะรอม (Haram) หรือสิ่งต้องห้ามบริโภค เช่น เหล้า หรือไขมันหมู เป็นต้น เนื้อสัตว์ หรือ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ฮาลาล จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสัตว์นั้นผ่านการเชือดที่ถูกต้องตามแนวทางอิสลามดังต่อไปนี้

  1. ผู้เชือดเป็นมุสลิมที่เข้าใจ และรู้วิธีการเชือดแบบอิสลามอย่างแท้จริง

  2. สัตว์ที่จะนำมาเชือดจะต้องไม่เป็นสัตว์ต้องห้าม เช่น สุกร สัตว์ที่ล่าหรือบริโภคสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น เสือ สุนัข สัตว์ปีกที่ล่าหรือบริโภคสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น เหยี่ยว นกอินทรี สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ไก่ป่า (ไก่กินหนอน)

  3. สัตว์ยังมีชีวิตขณะทำการเชือด

  4. การเชือดต้องเริ่มต้น ด้วยการเปล่งคำว่า "บิสมิลลาฮฺ" อันมีความหมายว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ

  5. การเชือดโดยใช้มีดคมตัดเส้นเลือดใหญ่ หลอดลม หลอดอาหาร ที่ลำคอให้ขาดจากกัน เพื่อให้สัตว์ตายโดยไม่ทรมาน

  6. สัตว์ต้องตายสนิทก่อนที่จะแล่เนื้อ หรือดำเนินการใด ๆ ต่อไ

 

ชนิดของสัตว์ที่มุสลิมนำมาบริโภคได้ ได้แก่ สัตว์บก เช่น แพะแกะ โค กระบือ กวาง ฯลฯ และสัตว์น้ำจำพวกปลา ปู กุ้งหอย และสัตว์ทะเลทั้งหมด ส่วนสัตว์ที่ไม่สามารถบริโภคได้แก่ มนุษย์ สุกร สุนัข สิงโต เสือโคร่ง เสือดาว ช้าง แรด แลน หมูป่า งู หมี และลิง สัตว์มีกรงเล็บ สัตว์มีพิษหรือสัตว์นำโรค สัตว์ที่ไม่อนุญาตฆ่าตามหลักศาสนา เช่น มด ผึ้ง และนกหัวขวาน สัตว์น่ารังเกียจ สัตว์ที่ไม่เชือดตามหลักศาสนา เลือด รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ และสัตว์ลักษณะเดียวกับลา

พืชและเครื่องดื่มทุกชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์สามารถบริโภคได้เช่นกัน แต่ถ้าสิ่งดังกล่าวปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรก (นะญิส) ซึ่งหมายถึง สิ่งสกปรกตามหลักศาสนาอิสลาม คือสุนัข สุกร สุรา ซากสัตว์ (สัตว์ไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลามยกเว้นปลาและตั๊กแตน) เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง สิ่งขับถ่าย นมลา นมแมว นมสุกรจะกลายเป็นอาหารต้องห้ามทันที

 

รับรองมาตรฐานสากล

เครื่องหมายโครงการ “อาหารปลอดภัย” Food Safety

โดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


อาหารปลอดภัย เป็นสัญญาลักษณ์ให้กับฟาร์ม แหล่งปลูก ที่ดำเนินการตาม GAP, COC และ GMP โดยเครื่องหมาย Q คือ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นควรให้มีการใช้เครื่องหมายรับรองให้เป็นเอกลักษณ์เดียว โดยการตรวจสอบรับรองแก่เกษตรกร ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ใช้รับรองกับสินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง ตลอดกระบวนการ From Farm to Table เพื่อแสดงถึงคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทย สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีศักยภาพ รับผิดชอบโดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

32

ตรา A.C.T.

ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ มกท.

(Organic Agriculture Certification Thailand – ACT)

 

คือการรับรองระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เฉพาะ ที่จัดทำขึ้นสำหรับตรวจรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์บางประเภทที่เพิ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้เหมาะกับผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้น ซึ่งรวมถึง การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงผึ้ง และการประกอบอาหารสำหรับร้านอาหาร ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองตามระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. จะใช้ตราสัญลักษณ์ของ มกท. เป็นตรารับรองมาตรฐาน

 

bottom of page