top of page

ภูมิคุ้มกันร่างกาย สำคัญกว่าที่คิด แบ่งออกเป็น 2 ระบบ

ภูมิคุ้มกันร่างกาย สำคัญกว่าที่คิด

ร่างกายเรามีระบบภูมิคุ้มกัน ที่คอยต้านทานและกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย โดยมีเม็ดเลือดขาว ที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดและตามอวัยวะต่างๆ คอยช่วยคุ้มกันดูแล หากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เกิดภาวะ ภูมิต้านทานต่ำ หรือ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่งผลให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ทำให้เราเจ็บไข้ได้ป่วยครั้ง เป็นในระยะเวลานาน ๆ หรือมีอาการหนักมากกว่าผู้ที่ภูมิคุ้มกันปกติ เป็นต้น


ภูมิคุ้มกันร่างกาย แบ่งเป็น 2 ระบบสำคัญ

1. Innate Immune System

ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด

ทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ได้แก่ ผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย โดยเฉพาะเชื้อโรค ด้วยการแสดงปฏิกิริยาต่างๆ เช่น การผลิตไขมันที่ผิวหนัง น้ำมูก น้ำลาย น้ำตา หรือการไอและจาม เพื่อขับเชื้อโรคออกจากเยื่อบุ อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเจริญเติบโต หรือการเพิ่มจำนวนของเชื้อโรค ที่อาจทำให้ร่างกายไม่สบายได้


2. Adaptive Immune System

ระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง

หากเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ด่านแรก เช่น ผิวหนัง หรือใต้เยื่อบุได้แล้ว เซลล์ต่างๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน จะผลิตภูมิต้านทานเพื่อจำกัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย โดยอาจใช้เวลา 2-3 วันในการผลิตภูมิต้านทาน ซึ่งภูมิต้านทานส่วนใหญ่จะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต เมื่อพบเชื้อเดิมเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เซลล์ความจำจะระดมพลสร้างภูมิต้าน และกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกายก่อนเกิดโรค


เกิดอะไรขึ้นหากภูมิคุ้มกันบกพร่อง

หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง สิ่งแรกที่อาจส่งผลต่อร่างกาย คือการติดเชื้อต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดอาการป่วยไข้ไม่สบาย และอาจเจ็บป่วยได้ง่าย ป่วยบ่อยครั้ง หรือมีอาการหนักกว่าผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ


นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา อาทิ กลุ่มโรคปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดลมอักเสบ รวมถึงการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เป็นต้น

สาเหตุสำคัญ ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

  • พันธุกรรม พันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่อภูมิคุ้มกันผิดปกติ

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ส่งผลให้เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำได้

  • ขาดการออกกำลังกาย ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง

  • ช่วงอายุ ภูมิคุ้มกันของเด็กมีน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว และเมื่ออายุมากขึ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ยิ่งลดลง

  • เชื้อไวรัส การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HIV อาจทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้


สังเกตอาการภูมิคุ้มกันผิดปกติ

  • มือเย็น

  • ตาแห้ง

  • เหนื่อยง่าย

  • มีไข้ต่ำ

  • ปวดหัว

  • มีผื่นคันตามตัว

  • ปวดบริเวณข้อ

  • ผมร่วง เปราะขาดง่าย หรือมีรังแค

  • ชาตามมือ ตามเท้า

  • ป่วยบ่อยครั้ง

ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกโภชนาที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย

  • พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับให้เต็มอิ่ม และเป็นเวลา ไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค กระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น

  • ดูแลความสะอาด ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร เพื่อสุขอนามัยที่ดี ป้องกันเชื้อโรค และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย

ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page