ผักเชียงดาสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ มีรสชาติอร่อย แถมยังได้คุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลายอีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา
จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของผักพื้นบ้านจำนวน 43 ชนิด ที่บริโภคกันในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผักเชียงดามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด และยังเป็นผักที่มีวิตามินอีสูงที่สุดอีกด้วย
ยอดผักเชียงดาสดจะมีรสมัน หากนำมาต้มให้สุกจะมีรสหอมหวาน ชาวบ้านทางภาคเหนือจึงนิยมปลูกผักเชียงดาไว้ตามริมรั้ว โดยนิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อน มารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ หรือนำมาทำแกง แกงส้ม แกงแค แกงเขียว แกงโฮะ แกงขนุน แกงเลียงกับปลาแห้ง หรือใส่ในต้มเลือดหมู แกงใส่ผักหวาน แกงรวมกับผักชะอม ผักกูด ผักเฮือด ฯลฯ หรือนำมาผัดน้ำมันหอย ทำผัดผักเชียงดา ผัดร่วมกับมะเขือ ฯลฯ แต่โดยปกติแล้วจะไม่ผัดผักเชียงดาล้วนๆ เพราะจะมีรสขม
**ผักเชียงดาในหน้าแล้งจะอร่อยกว่าในหน้าฝน เพราะผักเชียงดาในหน้าฝนจะมีรสเฝื่อน
คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา 100 กรัม ประกอบไปด้วย พลังงาน 60 แคลอรี, ความชื้น 82.9%, โปรตีน 5.4 กรัม, ไขมัน 1.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 6.2 กรัม, ใยอาหาร 2.5 กรัม, เถ้า 1.6 กรัม, วิตามินเอ 5,905 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 981 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.32 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 1 มิลลิกรัม, วิตามินซี 153 มิลลิกรัม, แคลเซียม 78 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 2.3 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม
ในปัจจุบันบริษัทยาของประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตพืชชนิดนี้เป็นชาชงสมุนไพร หรือในรูปแบบแคปซูลหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อรักษาเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยยับยั้งการดูดซึมของกลูโคส ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แคปซูลผักเชียงดาจะมีวางจำหน่ายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วไป โดยในรูปแบบผงแห้งจะมีการควบคุมมาตรฐานของ gynemic acid ต้องมีไม่ต่ำกว่า 25% คือใน 1 แคปซูลส่วนใหญ่แล้วจะมีผงยาเชียงดาอยู่ประมาณ 500 มิลลิกรัม
ที่มา : หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด
Comentários