ผักเชียงดา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gymnema inodorum เป็นผักพื้นบ้านของภาคเหนือที่คนในท้องถิ่นนิยมบริโภค
ลักษณะของผักเชียงดา เป็นไม้เลื้อย มีลำต้นสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ปลายแหลม ฐานใบมน ดอกเป็นดอกช่อ และมีสีเหลืองหรือสีเขียว ใบและเถามีสีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 - 5 ซม. มักเลื้อยพาดตามต้นไม้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 5 -10 เมตร โดยทั่วไปนิยมปลูกตามรั้วบ้าน และขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำ ด้วยสภาพภูมิประเทศอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 600 เมตร ซึ่งมีสภาพดินและอากาศที่ดีเหมาะแก่การปลูกผักเชียงดา เจริญเติบโตได้ในดินร่วน ในฤดูฝนจะให้ผลผลิตมาก
ในปัจจุบัน ผักเชียงดาเป็นที่รู้จักมากขึ้นภายหลังจากที่นักวิจัยชาวญี่ปุ่นมาค้นพบว่าผักเชียงดาในประเทศสายพันธุ์ Gymnema Inodorum นั้นมีสารสำคัญหลายอย่าง ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง และยังสามารถใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวานในการลดน้ำตาลในเลือด รวมถึงสามารถลดไขมันในเส้นเลือดช่วยผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงได้ด้วย
คุณค่าทางโภชนาการ
ใน 100 กรัม ของผักเชียงดาประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 82.9 พลังงาน 60 แคลอรี ให้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้
โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 1.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.2 กรัม ใยอาหาร 1.6 กรัม แคลเซียม 78 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม สังกะสี 2.3 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 5905 (I.U.) วิตามินบี 1 981 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.32 มิลลิกรัม Niacin 1 มิลลิกรัม วิตามินซี 153 มิลลิกรัม
ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
Comments