สมุนไพรเจียวกู้หลาน
อัปเดตเมื่อ 19 พ.ย. 2562
สมุนไพรแห่งอายุวัฒนะ

สมุนไพรเจียวกู้หลาน (Jiaogulan) มีชื่อท้องถิ่นว่า ปัญจขันธ์ หรือเบญจขันธ์ มาจากภาษาจีนที่หมายความถึงพืชเถาที่พันรอบไม้ใหญ่ แต่ด้วยความที่สมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพและรักษาอาการป่วยต่างๆ ได้หลายอย่าง ชาวจีนจึงเรียกว่าเจียวกู่หลานว่า "ซียันเช่า" ซึ่งมีความหมายว่าสมุนไพรแห่งชีวิตอมตะ
ลักษณะของเจียวกู้หลาน
ต้นเจียวกู้หลาน จัดอยู่พรรณไม้ล้มลุกตระกูลหญ้าแบบเถาเลื้อย ยาวประมาณ 1-150 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินเป็นรากเลื้อย เส้นเล็ก ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรากประมาณ 1 เซนติเมตร มีขนบางๆ เล็กน้อย เลื้อยไปตามพื้นหรือเลื้อยพันกับพืชชนิดอื่น ๆ
ใบเจียวกู้หลาน ใบออกเรียงสลับ มักเรียงแบบขนนก กิ่งหนึ่งมีใบประมาณ 3-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยเล็กน้อย ตรงกลางของใบยาวได้ประมาณ 4-8 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ดอกเจียวกู้หลาน ออกดอกเป็นกระจุกมีสีเหลืองเขียว โดยจะออกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเป็นเส้น ปลายแหลมยาวได้ประมาณ 1 มิลลิเมตร
ผลเจียวกู้หลาน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่เป็นสีเขียวออกดำ ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวได้ประมาณ 4 มิลลิเมตร
สรรพคุณของเจียวกู้หลาน
1. เจียวกู้หลาน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่
2. ใช้เป็นยารักษามะเร็ง ต้านทานการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็งรวมกว่า 20 ชนิด
3. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด
4. ช่วยรักษาและปรับโรคความดันโลหิตสูง-ต่ำ ให้เป็นปกติ
5. ช่วยรักษาโรคหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง
6. ช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
7. ใช้เป็นยารักษาหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมเรื้อรัง
8. ช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
9. ช่วยทำให้ตับแข็งแรง ใช้รักษาตับอักเสบ กรวยไตอักเสบ
10. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก
สรรพคุณอื่นๆ
ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดกรด รักษาลำไส้อักเสบ ทอนซิล ความจำเสื่อม ปวดหัว ไมเกรน ผมหงอก ผมร่วง หอบหืด ฆ่าเชื้อราที่เท้า โรคเก๊าท์ ปวดหลัง ปวดเอว ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ทำให้แผลหายเร็ว เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเซลล์ในร่างกาย ลดภูมิแพ้ สร้างสมดุลฮอร์โมนรอบเดือนของสตรี ฟื้นฟูฮอร์โมนต่อมลูกหมากของสุภาพบุรุษ ลดอาการต่อมลูกหมากโต เป็นต้น
Credit: หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.