ภูมิคุ้มกันร่างกาย สำคัญกว่าที่คิด แบ่งออกเป็น 2 ระบบ
ภูมิคุ้มกันร่างกาย สำคัญกว่าที่คิด
ร่างกายเรามีระบบภูมิคุ้มกัน ที่คอยต้านทานและกำจัดสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย โดยมีเม็ดเลือดขาว ที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดและตามอวัยวะต่างๆ คอยช่วยคุ้มกันดูแล หากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เกิดภาวะ ภูมิต้านทานต่ำ หรือ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่งผลให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ทำให้เราเจ็บไข้ได้ป่วยครั้ง เป็นในระยะเวลานาน ๆ หรือมีอาการหนักมากกว่าผู้ที่ภูมิคุ้มกันปกติ เป็นต้น

ภูมิคุ้มกันร่างกาย แบ่งเป็น 2 ระบบสำคัญ
1. Innate Immune System
ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด
ทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ได้แก่ ผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย โดยเฉพาะเชื้อโรค ด้วยการแสดงปฏิกิริยาต่างๆ เช่น การผลิตไขมันที่ผิวหนัง น้ำมูก น้ำลาย น้ำตา หรือการไอและจาม เพื่อขับเชื้อโรคออกจากเยื่อบุ อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเจริญเติบโต หรือการเพิ่มจำนวนของเชื้อโรค ที่อาจทำให้ร่างกายไม่สบายได้
2. Adaptive Immune System
ระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง
หากเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ด่านแรก เช่น ผิวหนัง หรือใต้เยื่อบุได้แล้ว เซลล์ต่างๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน จะผลิตภูมิต้านทานเพื่อจำกัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย โดยอาจใช้เวลา 2-3 วันในการผลิตภูมิต้านทาน ซึ่งภูมิต้านทานส่วนใหญ่จะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต เมื่อพบเชื้อเดิมเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เซลล์ความจำจะระดมพลสร้างภูมิต้าน และกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกายก่อนเกิดโรค
เกิดอะไรขึ้นหากภูมิคุ้มกันบกพร่อง
หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง สิ่งแรกที่อาจส่งผลต่อร่างกาย คือการติดเชื้อต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดอาการป่วยไข้ไม่สบาย และอาจเจ็บป่วยได้ง่าย ป่วยบ่อยครั้ง หรือมีอาการหนักกว่าผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ
นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา อาทิ กลุ่มโรคปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หลอดลมอักเสบ รวมถึงการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เป็นต้น

สาเหตุสำคัญ ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
พันธุกรรม พันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้องต่อภูมิคุ้มกันผิดปกติ
พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ส่งผลให้เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำได้
ขาดการออกกำลังกาย ทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง
ช่วงอายุ ภูมิคุ้มกันของเด็กมีน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว และเมื่ออายุมากขึ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ยิ่งลดลง
เชื้อไวรัส การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HIV อาจทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้
สังเกตอาการภูมิคุ้มกันผิดปกติ
มือเย็น
ตาแห้ง
เหนื่อยง่าย
มีไข้ต่ำ
ปวดหัว
มีผื่นคันตามตัว
ปวดบริเวณข้อ
ผมร่วง เปราะขาดง่าย หรือมีรังแค
ชาตามมือ ตามเท้า
ป่วยบ่อยครั้ง
ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกโภชนาที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย
พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับให้เต็มอิ่ม และเป็นเวลา ไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลีย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค กระตุ้นการทำงานของฮอร์โมน ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น
ดูแลความสะอาด ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร เพื่อสุขอนามัยที่ดี ป้องกันเชื้อโรค และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย